Exotic pets
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสุนัขและแมว
เนื้องอกและมะเร็ง
ระบบทางเดินหายใจและระบบไหลเวียนโลหิต
ภาวะหัวใจโต (Cardiomegaly)
โรคพยาธิหัวใจในสุนัข (Heart Worm Disease in Dogs)
โรคพยาธิหัวใจในแมว (Heart Worm Disease in Cats)
ภาวะความดันโลหิตสูง
ภาวะหลอดลมตีบในสุนัข
วิธีการตรวจโรคหัวใจ
ภาวะโลหิตจาง (Anaemia)
ระบบประสาท
ระบบสืบพันธุ์
โรคกระดูกและข้อ และกายภาพบำบัด
โรคตาในสัตว์เลี้ยง
โรคที่สำคัญในแมว
โรคผิวหนัง
โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
โรคอื่นๆในสัตว์เลี้ยง
อุปกรณ์การแพทย์ในการตรวจวินิจฉัย
 
โรคพยาธิหัวใจในสุนัข (Heart Worm Disease in Dogs)
เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากหนอนพยาธิชนิด Dirofilaria immitis พยาธิตัวเต็มวัยมักพบที่หลอดเลือดปอด และหัวใจด้านขวา ส่วนตัวอ่อนของพยาธิจะล่องลอยอยู่ในกระแสเลือด ทำให้การไหลเวียนเลือดผิดปกติ ส่งผลต่อการทำงานของอวัยวะภายในให้ผิดปกติตามเช่น หัวใจ, ปอด, ตับ และไต

มีรายงานครั้งแรกปี1626 ที่ประเทศอิตาลี พบการกระจายตัวของพยาธิเกือบทุกมุมโลก แม้แต่ที่ขั้วโลกเหนือ เชื้อสามารถติดต่อกันได้ในสัตว์ตระกูลสุนัข และแมวเกือบ 30 ชนิด เช่น เฟอร์เรท, แมวน้ำ, สิงโตทะเล และเคยตรวจพบการติดโรคในคนด้วย
การติดต่อ
มียุงเป็นพาหะนำโรค โดยยุงจะดูดเอาตัวอ่อนของพยาธิระยะแรกเข้าไปพร้อมกับเลือดสุนัขที่เป็นโรค ตัวอ่อนระยะที่ 2 และ 3 จะฟักในตัวยุงประมาณ 8-10 วันที่อุณหภูมิสิ่งแวดล้อมประมาณ 30oc จากนั้นยุงจะปล่อยตัวอ่อนระยะที่3 เข้าสู่สุนัขผ่านทางแผลผิวหนังที่ถูกกัด แล้วตัวอ่อนจะใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือนในการเจริญเป็นตัวเต็มวัยและเข้าไปอาศัยอยู่ในหัวใจ สามารถแพร่พันธุ์ได้ใน 6-7 เดือนหลังจากวันที่เริ่มติดโรค และอาศัยอยู่ในตัวสุนัขได้นาน 5-7 ปี
การตรวจวินิจฉัย
ทำได้จากการซักประวัติอาการ, การตรวจร่างกาย, การตรวจเลือดและปัสสาวะ, การเอ็กเรย์ และการทำอัลตร้าซาวด์หัวใจ
อาการป่วย แบ่งออกเป็น 4 ระยะคือ
  • ระยะแรก (Asymptomatic disease) สุนัขไม่แสดงอาการผิดปกติใดๆ แต่ตรวจพบการติดโรคนี้จากการตรวจวินิจฉัยเช่น ตรวจเลือด
  • ระยะที่ 2 (Moderate disease) มีอาการเหนื่อยง่ายผิดปกติ ไอบ้างเล็กน้อย ผอมลง
  • ระยะที่ 3 (Severe disease) สุนัขไอมาก หายใจลำบาก ไม่ค่อยมีแรง มักพบอาการท้องมาน หรือมีการบวมน้ำที่ขาหลัง
  • ระยะที่ 4 (Caval syndrome) มีอาการปัสสาวะเป็นเลือด เสียงหัวใจข้างขวาผิดปกติ ลิ้น และเหงือกซีดขาว เป็นลมหมดสติ หรืออาจเสียชีวิตเฉียบพลัน

การรักษา
แบ่งออกเป็นการกำจัดพยาธิตัวเต็มวัย และการกำจัดพยาธิตัวอ่อน
  1. การกำจัดพยาธิตัวเต็มวัย
    • การฉีดยาฆ่าพยาธิตัวเต็มวัย จะทำก็ต่อเมื่อสัตวแพทย์วางแผนในการฉีดยาและประเมินสภาพสุนัขแล้วว่าปลอดภัยพอ เพราะตัวพยาธิที่ตายมีผลทำให้ปอดอักเสบรุนแรง เกิดปอดล้มเหลวเฉียบพลัน สุนัขบางตัวอาจตายจากผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นนี้ได้
    • การรักษาตามอาการ มักจะถูกเลือกใช้ในกรณีสุนัขอายุมาก และมีข้อจำกัดทางสุขภาพ
    • การผ่าตัดเพื่อเอาตัวพยาธิออก ทำในสุนัขที่ตรวจแล้วพบปริมาณพยาธิในหัวใจจำนวนมาก หรือในโรคพยาธิหัวใจระยะที่ 4

  2. การกำจัดพยาธิตัวอ่อน จะทำหลังจากกำจัดตัวเต็มวัยประมาณ 1 เดือน โดย
    • การกินยาในขนาดกำจัดตัวอ่อน จะทำลายพยาธิตัวอ่อนได้หมดในครั้งเดียว แต่มักพบผลข้างเคียงจากตัวอ่อนที่ตายไปทำให้เกิดการอักเสบที่ปอด ตับและไตตามมา
    • การกินยา หรือหยอดยาในขนาดป้องกันพยาธิหัวใจ ทำให้พยาธิตัวอ่อนค่อยๆตาย ลดความเสี่ยงต่อผลข้างเคียงที่ตามมาได้มาก
การป้องกันพยาธิหัวใจควรเริ่มเมื่อสุนัขมีอายุ 6 สัปดาห์ มีหลายผลิตภัณท์ให้เลือกใช้ เช่นยากิน, ยาหยดหลัง หรือยาฉีด ซึ่งไม่ว่าจะเลือกใช้วิธีไหนก็ควรจะใช้ต่อเนื่องกันทุกเดือนเพื่อลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค
 
 
โรงพยาบาลสัตว์ศรีวรา
1325 ซอยลาดพร้าว 94 (ปัญจมิตร) แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพ 10310
โทรศัพท์ 0-2530-7636-7 แฟกซ์ 0-2530-7633
Copyright © 2011 Sriwara Animal Hospital Co. ,Ltd. All rights reserved.